ศาลาลงสรง เดิมสร้างที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงโปรดให้ย้ายมาปลูกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงโปรดให้ย้ายมาปลูกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประวัติความเป็นมา ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในประเทศไทยมีประวัติและพัฒนาการมายาวนานนับพันปี ตั้งแต่สมัยกรีก โรมัน โดยเริ่มจากพิพิธภัณฑสถานในพระราชวังและส่วนบุคคล แล้วมีพัฒนาการด้านความเจริญก้าวหน้าและแผ่ขยายไปในประเทศต่างๆ
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงปูพื้นฐานงานพิพิธภัณฑสถานเป็นปฐม เพราะทรงสนพระทัยเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตั้งแต่ยังทรงผนวช เมื่อเสด็จธุดงค์ไปตามหัวเมืองต่างๆ ได้ทอดพระเนตรโบราณสถาน โบราณวัตถุหลายสมัย จึงทรงรวบรวมโบราณวัตถุต่างๆ ไว้เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ทรงจัดพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งราชฤดี ตึกแบบฝรั่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นข้างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยด้านตะวันออก จัดเป็นพิพิธภัณฑสถานส่วนพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้ราชอาคันตุกะคณะทูตชาวต่างประเทศได้เข้าชมโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุในโอกาสสำคัญ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการเริ่มการจัดพิพิธภัณฑสถานขึ้นในราชอาณาจักรไทยนอกจากพระที่นั่งราชฤดีแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอภิเนาวนิเวศน์ขึ้นด้านหลังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๙ ซึ่งมีพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์เป็นพระที่นั่งขนาดใหญ่อยู่ห้องหนึ่ง และทรงใช้เป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุและของแปลกประหลาดต่าง ๆ ที่ย้ายมาจากพระที่นั่งราชฤดีโดยเฉพาะ จากการที่ทรงสนพระราชหฤทัยในโบราณศิลปวัตถุเช่นนี้ ทำให้บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่และคหบดีทั่วไปสนใจไปด้วยและมีผู้นำของโบราณขึ้นทูลเกล้าฯ และน้อมเกล้าฯ ถวายอยู่เสมอ ความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆก็แพร่หลายยิ่งขึ้น ดังได้พบพระราชนิพนธ์และพระบรมราชาธิบายของพระองค์ อยู่จำนวนมาก และความรู้นี้ยิ่งแพร่หลายมากยิ่งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เพราะจากการที่พระองค์เสด็จประพาสประเทศ ต่าง ๆ ทั้งในเอเชียและยุโรปนั้น ทำให้พระองค์ทรงมีโอกาสเสด็จไปทอดพระเนตร พิพิธภัณฑสถานในประเทศนั้น ๆ ก็ทรงนำแบบอย่างการจัดพิพิธภัณฑสถานมาจัด ทำในประเทศไทยด้วยเช่นกัน อาทิ ทรงนำรูปแบบอาคารหอประชุมของทหารที่เมืองปัตตาเวียมาสร้าง "หอคองคอเดีย" สำหรับเป็นที่ประชุมทหารมหาดเล็กเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗ ทรงโปรดฯ ให้ย้ายศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ จากพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ มาจัดแสดงในมิวเซียม (Museum) ณ หอคองคอเดีย และมีพิธีเปิดหอมิวเซียมหรือพิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย ในวันเสาร์ เดือนสิบ ขึ้นเก้าค่ำ ปีจอ ฉอศก ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๑๗ กรมศิลปากร จึงถือเอาวันที่ทรงประกอบพิธีเปิดมิวเซียมเป็นวันกำเนิดของพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติแห่งแรกของราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานประเภททั่วไป
พ.ศ.๒๔๑๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำโบราณศิลปวัตถุออกจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานตามหลักวิชาสากล มีการแบ่งโบราณวัตถุ เป็น ๓ ประเภท และจัดแบ่งเป็นห้อง ๆ ไป ได้แก่ โบราณศิลปวัตถุของไทย ๑ ห้อง เครื่องราชูปโภคและเครื่องต้น ๑ ห้อง และศิลปวัตถุจากต่างประเทศอีก ๑ ห้อง พิพิธภัณฑสถานนี้ ซึ่งเปิดให้สาธารณชนได้เข้าชมเป็นครั้งแรก เป็นที่สนใจของประชาชนมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดแสดงเป็นพิเศษเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของทุกปี
พ.ศ.๒๔๓๐ พระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์สุดท้าย ได้เสด็จทิวงคต พระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้าว่างลง และด้วยเหตุที่มีประกาศยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยตั้งตำแหน่ง "สยามมกุฎราชกุมาร" แทน ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้าย หอมิวเซียมไปตั้งอยู่ในพระราชวังบวรสถานมงคล โดยใช้พระที่นั่งส่วนหน้า ๓ หลัง เป็นที่จัดแสดงโบราณศิลปวัตถุ คือ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย หอมิวเซียม หรือพิพิธภัณฑสถาน ได้ถูกยกฐานะเป็นกรมพิพิธภัณฑสถาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ ในสังกัดกระทรวงวัง ต่อมาวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๔๓๒ กรมพิพิธภัณฑสถานถูกย้ายไปสังกัดกรมศึกษาธิการ ด้วยเหตุผลที่ว่าพิพิธภัณฑสถานก็อยู่ในสังกัดนี้ ตำแหน่งอธิบดี เปลี่ยนเป็นผู้บัญชาการ พ.ศ.๒๔๓๓ นี้ กรมพิพิธภัณฑสถานได้ย้ายสังกัดอีกครั้งโดยขึ้นกับกองบัญชี กรมกลาง กระทรวงธรรมการ พิพิธภัณฑสถานจะเปิดให้ประชาชนได้เข้าชมสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง และจะมีผู้เข้าชมมากในโอกาสงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา และพระราชพิธีฉัตรมงคล สมัยรัชการที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการประกาศตั้ง "กรรมการหอสมุดสำหรับพระนคร" เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๔๖๖ ให้รับผิดชอบงานสำรวจและตรวจรักษาโบราณ วัตถุสถาน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่องานด้านโบราณคดี ด้วยพระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ในประเทศไทยมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ อยู่มาก โบราณสถานเหล่านั้นเป็นหลักฐานสำคัญต่อพงศาวดาร และเป็นอุปกรณ์ในการตรวจหาความรู้ทางโบราณคดีซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ เป็นเกียรติยศแก่ประเทศชาติ ในประเทศอื่น ๆ รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลสงวนรักษา โบราณสถานและโบราณวัตถุ โดยตรง แต่ในสมัยนั้นในประเทศไทยโบราณสถานมีการสำรวจเฉพาะบางแห่งเท่านั้น เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานด้าน นี้ โดยตรง ดังนั้น จึงไม่มีระเบียนแบบแผนแน่นอน ด้วยประกาศตั้งกรรมการหอสมุดสำหรับพระนครนี้ นับเป็นประกาศฉบับแรกที่กล่าวถึงการสงวนรักษาโบราณวัตถุสถานในพระราชอาณา จักรพ.ศ.๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริให้รวมงานที่เกี่ยวกับ วรรณกรรมและโบราณคดีเข้าไว้ในสถาบันเดียวกันและพระราชทานหมู่พระที่นั่งใน พระราชวังบวรสถานมงคลทั้งหมดจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถาน และมีพระราชบัญญัติโอนพิพิธภัณฑสถานให้มาขึ้นอยู่ในความดูแลของหอพระสมุด สำหรับพระนคร แต่ต่อมา วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๖๙ ได้มีประกาศพระราชบัญญัติจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๔๖๙ ก็มีประกาศตั้งราชบัณฑิตยสภาให้ดูแลงานด้านโบราณคดี วรรณคดี ศิลปากร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสำหรับพระนคร โดยมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสภา การเปลี่ยนแปลงของการจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานได้เริ่มตั้งแต่ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้ปรับปรุงการจัดแสดง ทำให้พิพิธภัณฑสถานเปลี่ยนจากพิพิธภัณฑสถานประเภททั่วไป เป็นพิพิธภัณฑสถานที่รวบรวมสงวนรักษาโบราณศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ นอกจากนี้ ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๔๖๙ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งโบราณวัตถุและศิลปวัตถุออกนอกประเทศ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติป้องกันการลักลอบนำโบราณวัตถุและศิลปวัตถุอันเป็น หลักฐานที่สำคัญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ออกนอกประเทศ โดยกำหนดให้ผู้จะนำต้องได้รับอนุมัติจากราชบัณฑิตยสภาก่อนพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด "พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร" ในวันประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา คือวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๙ ด้วยพระองค์เอง พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระราชินี ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้วใน พ.ศ.๒๔๗๖ รัฐบาลได้จัดตั้งกรมศิลปากรขึ้น สังกัดกระทรวงธรรมการ มีกองพิพิธภัณฑ์และโบราณคดีด้วยกองหนึ่งที่สังกัดกรมศิลปากร ต่อมากองนี้ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานในสมัยนั้น เป็นกองพิพิธภัณฑ์และโบราณวัตถุ จากนั้นได้เปลี่ยนอีกครั้งเป็น"กองโบราณคดี" โดยมีหน้าที่ดำเนินงานพิพิธภัณฑสถาน และดูแลโบราณสถานทั่วพระราชอาณาจักร พ.ศ.๒๔๗๗ ได้มีการเปลี่ยนชื่อพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสำหรับพระนคร พ.ศ.๒๔๗๘ ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.๒๔๗๗ ซึ่งได้มีการปรับปรุงอีกเป็น "พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ " ให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทุกแห่งอยู่ในความควบคุมดูแลของกองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมา มีพระราชกฤษฏีกาแบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการพุทธศักราช ๒๕๑๘ ให้จัดตั้งกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขึ้นใหม่ โดยแยกออกจากกองโบราณคดี ให้มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๓๘ ได้มีพระราชกฤษฏีกาการแบ่งส่วนราชการของกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ ขึ้นโดยรวมเอากองโบราณคดีและกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเข้าด้วยกัน เป็นหน่วยงานใหม่คือ " สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ " ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้มีพระราชกฤษฏีกาการแบ่งส่วนราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ขึ้น โดย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้แยกออกมาจากสำนักโบราณคดี เป็น "สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" ขึ้นตรงต่อกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม ในปัจจุบัน
สำหรับนักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ รวมถึงภิกษุ สามเณร
และนักบวชในศาสนาต่างๆ
เข้าชมฟรี
อัตราค่าเข้าชม มี 2 แบบ
1. แบบบัตรปลีก คนไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 200 บาท
2. บัตรรวม คนไทย 60 บาท ชาวต่างชาติ 350 บาท
** บัตรรวม คือ บัตรที่สามารถเข้าชมได้ทั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์
เวลาทำการ 09.00 - 16.00 น.
ปิดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์
อ้่งอิงข้อมูลจาก http://www.thailandmuseum.com/OfficeMuseum/OfficeNatinalMuseum.htm
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น